ครูประจำฐานการเรียนรู้
ชื่อกิจกรรม เขียนสวย รวยคำอ่าน
ครูที่ปรึกษา นางสาวรักษ์ วงศ์ประเทศ ตำแหน่งครู
นางสุวัจจนีย์ วงศ์เจริญ ตำแหน่งครู
คุณธรรมอัตลักษณ์ที่ต้องการฝึก มีวินัย ขยัน รับผิดชอบ อดทน
นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ชั้นอนุบาล 2 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 125 คน
ศาสตร์พระราชาที่ใช้ “แก้ปัญหาจากจุดเล็ก”
สอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้รูปแบบ PPP Model (โพธิ์พอเพียงโมเดล)
P = Plan (การวางแผน)
1.ครูและนักเรียนประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นและช่วยกันเสนอปัญหาที่อยากแก้และความดีที่อยากทำ
2.ที่ประชุมร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์สาเหตุที่มาของปัญหา
2.1 ปัญหา คือ นักเรียนเขียนลายมือไม่สวย
2.2 สาเหตุ คือ นักเรียนไม่รู้หลักการเขียนที่ถูกต้อง
P = Participation (วิธีการแก้ปัญหา)
1. ครูและนักเรียนประชุมชี้แจงหาข้อตกลง หรือแนวปฏิบัติร่วมกันในเรื่องการคัดลายมือที่ถูกต้อง สวยงาม
2. กำหนดขั้นตอนในการเขียน
2.1 ครูให้ความรู้เรื่อง การเขียนตัวอักษรตามแบบของกระทรวงศึกษาธิการ
2.2 นั่งท่าให้ถูกต้องสวยงาม
2.3 เขียนสมุดให้หมดหน้า
2.4 ไม่ใช้น้ำยาลบคำผิด
2.5 เมื่อเขียนผิดครูรีบแก้ไขโดยขีดด้วยปากกาสีแดงและเขียนแก้ไขด้วยปากกาสีแดง
2.6 นักเรียนออกเสียงคำอ่าน ข้อความที่เขียนและคำพื้นฐานทุกครั้ง อ่านออกเสียงผิดครูรีบแก้ไข
2.7 PLC เพื่อทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR เพื่อร่วมกันสะท้อนและทบทวนกระบวนการต่างๆ และนำบทเรียนที่ได้จากความสำเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้นมาจัดทำและพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น
3. สรรหาบุคคลต้นแบบ กิจกรรม เขียนสวย รวยคำอ่าน
P = Productive (ผลที่ได้รับ)
1. พฤติกรรมเชิงบวก คือ นักเรียนเขียนลายมือถูกต้อง สวยงาม
2. นักเรียนมีคุณธรรมด้าน มีวินัย ขยัน อดทน ความรับผิดชอบ
3. นักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดี เรื่องการเขียนลายมือถูกต้องสวยงาม
ปัจจัยความสำเร็จ
1. ประสานใจ ทุกคน ทุกฝ่าย (ครู นักเรียน ผู้ปกครอง) ตกลงร่วมกัน เข้าใจ และสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ
2. เอาใจใส่ ทุกคน ทุกฝ่าย ครู บุคลากรทุกคนคอยเอาใจใส่ กำกับ ติดตาม ดูแลอย่างสม่ำเสมอ
3. ภาคภูมิใจ ทุกคน ทุกฝ่าย ให้กำลังใจ แสดงความภาคภูมิใจร่วมกันในสิ่งที่ปฏิบัติ
4. หลักธรรมที่ใช้ คือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง